วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

รจนา นารี



รจนาเสี่ยงพวงมาลัย
ประเภทการแสดงรำ (รำคู่ ที่เป็นชุดเป็นตอน)
ประวัติที่มา
รำรจนาเสี่ยงพวงมาลัย ปรากฏในการแสดงละครนอก ซึ่งเป็นละครรำที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าเป็นละครที่ได้พื้นฐานมาจากละครชาตรี ลักษณะการแสดงใช้ผู้ชายแสดงล้วน มุ่งดำเนินรวดเร็ว กระบวนท่ารำไม่ประณีต พิถีพิถัน ทั้งยังไม่เคร่งครัดจารีตประเพณี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล่านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสิน ทรงได้ริเริ่มให้นางละครของหลวงแสดงละครนอกตามแบบอย่างละครชาวบ้าน โดยทรงเลือกบทละครนอกครั้งกรุงเก่า เฉพาะตอนที่ทรงเห็นว่าน่าเล่นละครมาทรงแก้ไขปรับปรุงสำนวนกลอนให้กระชับ และเหมาะแก่การแสดง แต่ยังคงความหมายเดิมอย่างครบถ้วน จึงเกิดเป็น “ละครนอกแบบหลวง”ขึ้น กล่าวกันว่า หลังจากทรงพระราชนิพนธ์กลอนบทละครแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงประดิษฐ์กระบวนท่ารำประกอบ บางครั้งถึงกับทรงต้องปรับแก้กระบวน
       ตามประวัติการแสดงของกรมศิลปากร พบว่า การแสดงครั้งแรกเป็นการแสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศฮ่องกง โดยนางส่องชาติ ชื่นศิริ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ละครรำ) พ.ศ. ๒๕๓๕ แสดงเป็นนางรจนา นางสยม ฤทธิ์จรุง แสดงเป็นเจ้าเงาะ ต่อมาได้จัดการแสดงเผยแพร่ ณ. โรงละครศิลปากร โดยนางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ – ละครรำ) พ.ศ. ๒๕๓๓ แสดงเป็นเจ้าเงาะ นางสุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ แสดงเป็นนางรจนา และการแสดงทั้งสองครั้งถ่ายทอดกระบวนท่ารำ โดยนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก หม่อมครูต่วน และนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       รจนาเลือกคู่ หรือรจนาเสี่ยงพวงมาลัย เป็นการแสดงที่มีลักษณะพิเศษตอนหนึ่ง ในบทละครเรื่องสังข์ทอง ซึ่งมีพระสังข์เป็นพระเอก และรจนา เป็นนางเอก ในตอนรจนาเสี่ยงพวงมาลัยนี้มีชื่อเรื่องว่า พระสังข์ซึ่งตัวจริง รูปร่างสวยงาม ผิวเป็นทองทั้งตัว แต่แกล้งปลอมแปลงตัวโดยเอารูปเงาะเข้าสวมใส่แล้วแกล้งทำเป็นบ้าใบ้ พระสังข์ในตอนนี้จึงถูกเรียบตามรูปนอกว่า “เจ้าเงาะ” แล้วถูกพามาให้เจ้ารจนา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเลือกคู่ เนื่องจากเป็นบุปเพสันนิวาส นางรจนาจึงมองเห็นรูปทองข้างในของเจ้าเงาะ แล้วทิ้งพวงมาลัยให้เพื่อเลือกพระสังข์ คือเจ้าเงาะปลอม เป็นสวามี
       ท่ารำของเงาะ เป็นท่าที่อาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพิเศษ ไม่เหมือนท่ายักษ์ ไม่เหมือนท่าพระ (มนุษย์) และไม่เหมือนท่าลิง เป็นท่ายักษ์ปนมนุษย์กลายๆ และเพลงหน้าพาทย์ประกอบการไปของเงาะ การใช้เพลง “กลม” คลายกับที่ใช้กับเทวดา จึงนับว่าท
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ ๑
เจ้าเงาะและนางรจนา รำออกตามทำนองเพลงลีลากระทุ่ม
  • ขั้นตอนที่ ๒
เจ้าเงาะรำตีบทตามบทร้องเพลง ลีลากระทุ่ม นางรจนารำท่าเพลงช้า
  • ขั้นตอนที่ ๓
นางรจนารำตีบทตามบทร้องเพลงลมพัดชายเขา
  • ขั้นตอนที่ ๔
เจ้าเงาะ และนางรจนา รำตีบทตามบทร้องเพลงเชิดฉิ่ง
  • ขั้นตอนที่ ๕
รำเข้าตามทำนองเพลงเร็ว และลา
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
       ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม
       เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลง ลีลากระทุ่ม เพลง ลมพัดชายเขา เพลงเชิดฉิ่ง และเพลงเร็ว - ลา
เครื่องแต่งกาย
       ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง เจ้าเงาะสมศีรษะเงาะ นางรจนา ศิราภรณ์ รับเกล้ายอดเกล้า